ใบความรู้ 4 เรื่อง พืชมีท่อลำเลียงเมล็ดมีผนังห่อหุ้มรังไข่ (พืชดอก)
พืชมีท่อลำเลียงเมล็ดไม่เปลือย (พืชดอก) มี 1 ดิวิชัน และแบ่งได้ 2 คลาส ดังนี้
1. ดิวิชันแอนโทไฟตา (Division Anthophyta)
พืชในกลุ่มนี้เป็นพืชมีดอกและมีเมล็ดที่ผนังรังไข่ห่อหุ้ม ดอกส่วนใหญ่ประกอบด้วยชั้นต่างๆ 4 ชั้น ได้แก่ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ ซึ่งประกอบด้วย อับเรณู และก้านชูอับเรณู เกสรตัวเมียประกอบด้วย ยอกเกสรตัวเมีย คอเกสรตัวเมีย และรังไข่ ส่วนประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ติดอยู่บนฐาน
รองดอก แบ่งออกได้เป็น 2 คลาส คือ
1.1.คลาสไดคอทีเลโดเนส (Class Dicotyledones) ได้แก่ พืชใบเลี้ยงคู่ทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 170,000 ชนิด ลักษณะทั่วไปคือ มีใบเลี้ยง 2 ใบ เส้นใบเป็นร่างแห รากเป็นระบบรากแก้ว และส่วนประกอบของดอก (เช่น กลีบเลี้ยง กลีบดอก) มีจำนวนเป็น 4 – 5 หรือ ทวีคูณของ 4 – 5
1.2.คลาสมอโนคอทีเลโดเนส (Class Monocotyledones) ได้แก่ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 60,000 ชนิด ลักษณะทั่วไป คือ มีใบเลี้ยงใบเดียว ใบมีเส้นใบเรียงตัวแบบขนาน รากเป็นระบบรากฝอย ส่วนประกอบของดอกมีจำนวนเป็น 3 หรือทวีคูณของ 3
ลำต้นของไม้ดอกที่พบเห็นทั่วๆ ไปคือ สปอโรไฟต์ ส่วนแกมีโตไฟต์ มีขนาดเล็กมาก อายุสั้น เจริญอยู่ในเกสรตัวผู้และตัวเมีย พืชกลุ่มนี้จะมีการปฏิสนธิ 2 ครั้ง หรือเรียกว่าปฏิสนธิซ้อน ซึ่งเกิดในไข่อ่อนหรือออวุล โดยสเปิร์มเซลล์แรกเข้าปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ได้ ไซโกต ซึ่งต่อมาเจริญเป็นต้นอ่อน สเปิร์มเซลล์ที่ 2 จะเคลื่อนที่เข้าผสมกับโพลาร์นิวเคลียส เกิดเป็น แอนโดสเปิร์ม ซึ่งจะเจริญเป็นเนื้อเยื่อที่สะสมอาหาร ไว้เลี้ยงต้นอ่อนในเมล็ด หลังการปฏิสนธิ ออวุลจะเจริญเป็นเมล็ด ส่วนรังไข่จะเจริญเป็นผลห่อหุ้มเมล็ดไว้ นักพฤกษศาสตร์ ได้จำแนกพืชดอกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และพืชใบเลี้ยงคู่
ตัวอย่างพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ได้แก่ ข้าว อ้อย มะพร้าว ตาล กล้วย กล้วยไม้
ตัวอย่างพืชใบเลี้ยงคู่ ได้แก่ มะม่วง ยางพารา ต้นสัก สาหร่ายหางกระรอก สนทะเล กระบองเพชร โป๊ยเซียนพืชทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันดังตารางเปรียบเทียบ
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของพืชใบเลี้ยงคู่ และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
พืชในคลาสนี้เป็นพืชมีดอก (Flowering plants) มีประมาณ 300,000 ชนิดอยู่ได้ทั่วไปทุกแห่งหน บางชนิดมีอายุเพียงฤดูกาลเดียว บางชนิดอายุยืนหลายร้อยปี บางชนิดมีขนาดใหญ่เกือบ 10 เมตรเช่น ยูคาลิปตัส แต่บางชนิดมีขนาดเล็กมากเช่น ผำ หรือไข่น้ำ (Wolffia ) ลักษณะทั่วไปของพืชกลุ่มนี้คือ มีราก ใบ ลำต้นที่แท้จริง มีระบบท่อลำเลียงเจริญดีมาก Xylem ประกอบด้วย Vessel เป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ ส่วน Phloem ทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร มีอวัยวะสืบพันธุ์คือ ดอกเจริญอยู่บนก้านดอก มีทั้งที่เป็นดอกสมบูรณ์ และดอกไม่สมบูรณ์ ดอกสมบูรณ์ประกอบด้วย Sepal Petal Stamen และ Pistil เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม เมื่อรังไข่พัฒนาเต็มที่จะกลายเป็นผล มีการปฏิสนธิซ้อน มีวงชีวิตแบบสลับ
แกมีโตไฟต์มีขนาดเล็กอยู่บนสปอโรไฟต์
ภาพที่ 35 การปฏิสนธิซ้อนในพืชดอก
(ที่มาภาพ: http://cache.eb.com/eb/image?id=72162&rendTypeId=35)
ภาพที่ 36 วงชีวิตแบบสลับของพืชดอก
(ที่มาภาพ: http://waynesword.palomar.edu/images/flcycle.gif)
ภาพที่ 37 ภาพตัดขวางลำต้นพืช
(ที่มาภาพ:http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/fisher/fi15/web/images/tmp/stems%20model.jpg)
ภาพที่ 38 เปรียบเทียบพืชดอกชนิดใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่
(ที่มาภาพ: http://hawaii.hawaii.edu/laurab/generalbotany/images/monocots%20vs%20dicots.jpg)
เอกสารอ้างอิง
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา. เอกสารประกอบการเรียนวิชา
ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรพืช. (19 ก.พ 53)
http://www.mwit.ac.th/~deardean/link/All%20Course/biodiver/biodivpdf/diver_plantae.pdf
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. (2537). พฤกษศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่โรงพิมพ์
สหมิตรออฟเซท.
สอวน. (2548). โครงการตำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน. ชีววิทยา 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์.
Mader S. Sylvia. (2007). Biology. The ninth edition. The McGraw-Hill Companies, Inc.
McGraw-Hill International edition. USA.