ใบความรู้ 3 เรื่อง พืชที่มีระบบท่อลำเลียงแต่มีเมล็ดไม่มีผนังห่อหุ้มรังไข่ (เมล็ดเปลือย) 

กลุ่มพืชมีท่อลำเลียงแต่เป็นเมล็ดเปลือย มีดังนี้

1. ดิวิชันโคนิเฟอโรไฟตา(Division Coniferophyta)

พืชส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า Conifer ได้แก่สนชนิดต่าง ๆ ที่แพร่กระจายมาตั้งแต่ยุค Triassic และ Jurassic จนถึงปัจจุบัน พบได้ตั้งแต่เขตหนาวขั้วโลกจนถึงเขตอบอุ่น และบนภูเขาสูงในเขตร้อนอย่างประเทศไทยเช่น สนสามใบหรือสนเกี๊ยะ สนสองใบ (Pinus  merkusii)  และสนสามใบ(Pinus  khasya) เป็นต้น ส่วนใหญ่พืชกลุ่มนี้เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและเป็นที่รู้จักกันดีหลายชนิดเช่น Pine Spruce Fir Cedar Juniper Larch  Hemlock Cypress Yew Redwood  พืชในกลุ่มนี้เนื้อไม่มีการเจริญขั้นที่สอง ใบเรียงตัวติดกับลำต้นแบบวนเป็นเกลียวหรือตรงข้าม ใบมักมีรูปร่างเป็นรูปเข็ม บางชนิดใบมีลักษณะเป็นเกล็ด ใบสีเขียว ระบบรากเป็นรากแก้วมักพบ Mycorhyza ที่รากด้วย ไซเลมประกอบด้วยเทรคีตเป็นส่วนใหญ่ คอร์เทกซ์ของต้นมักมีน้ำมันหรือยางที่มีกลิ่นเฉพาะ ในการสืบพันธุ์พบว่า สโตรบิลัสเพศผู้และสโตรบิลัสเพศเมียมักเกิดอยู่บนต้นเดียวกัน (Monoecious) 

สโตรบิลัสเพศเมียประกอบด้วยสเกล (Megasporophyll) ทำหน้าที่สร้างโอวูล (Ovuliferous scale) 

ในแต่ละสโตรบิลัสมีสเกลหลายอัน แต่ละสเกลมักมีโอวูล 2 อัน ส่วนสโตรบิลัสเพศผู้จะประกอบด้วยสเกล (Microsporophyll) จำนวนมาก แต่ละสเกลจะมีการ สร้างละอองเกสรตัวผู้อยู่ภายในถุง (Pollensac) เมื่อโอวูลได้รับการผสมจะเจริญเป็นเมล็ดที่ภายในมีต้นอ่อนที่มีใบเลี้ยงตั้งแต่ 2 ใบจนถึงเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างพืช ได้แก่ สน 2 ใบ, สน 3 ใบ, สนแดง, สนหางสิงห์

ภาพที่ 27 Redwood และ Larch ในฤดูต่าง ๆ

(ที่มาภาพ: http://www.flowersociety.org/images/Essences/Research/Redwood/redwoodtrunk.jpg

http://www.hort.wisc.edu/mastergardener/Features/woodies/larch/larch-seasons.jpg)

ภาพที่ 28 (ซ้าย) ใบสน (ขวา) ใบยิว

(ที่มาภาพ: http://www.science.siu.edu/landplants/Coniferophyta/images/Pine.needles.JPEG

http://www.billcasselman.com/yew.jpg)

ภาพที่ 29 (ซ้าย) โคนตัวผู้ (ขวา) โคนตัวเมีย

(ที่มาภาพ: http://web.gccaz.edu/~lsola/NonFlwr/conif105.htm)

2. ดิวิชันไซแคโดไฟตา(Division Cycadophyta)

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตพวกนี้คือ เมล็ดไม่มีรังไข่ห่อหุ้ม มีวิวัฒนาการมาจากเฟินที่มีเมล็ด ใบเป็นใบประกอบ คล้ายขนนก มีขนาดใหญ่ ใบย่อยมีขนาดเล็กแข็งภายในลำต้นมีท่อกลวงมาก มีเนื้อไม้น้อย ลำต้นมีขนาดใหญ่เตี้ย มีขนาดเล็กกว่าพวกสน ไม่แตกกิ่งก้านเหมือนสน ใบเป็นกระจุกอยู่ที่ยอดของลำต้น เมกาสปอแรนเจียมได้รับการผสมก็จะเจริญเป็นเมล็ด ปรงมีรากแก้วขนาดใหญ่ มีระบบรากแขนง และอาจพบ Nastoc หรือ Anabaena อาศัยอยู่ร่วมด้วย วงชีวิตเป็นแบบสลับ Sporophyte มีขนาดใหญ่เป็นที่อยู่ของ Gametophyte ตัวอย่างพืชได้แก่ ปรงป่า, ปรงญี่ปุ่น


ภาพที่ 30 (ซ้าย) C. circinalis (ขวา) C. siamensis

       (ที่มาภาพ: http://www.dkimages.com/discover/previews/903/718172.JPG

http://www.pacsoa.org.au/cycads/Cycas/siamensis1.jpg)

ภาพที่ 31 (ซ้าย) โคนตัวผู้ (ขวา) โคนตัวเมีย

       (ที่มาภาพ: http://www.pacsoa.org.au/cycads/Cycas/revoluta04.jpg

http://www.botany.uga.edu/images/greenhouses/cycad53.jpg)

สนและปรงเรียกรวมๆ ว่าเป็นพวก จิมโนสเปิร์ม (gymnosperm) ซึ่งหมายถึงเมล็ดเปลือย

มีความสำคัญดังนี้

       1. เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในเขตอบอุ่น มีประโยชน์คือ นำมาทำ

เครื่องเรือน เครื่องใช้ต่างๆ ไม้อัด กระดาษ

       2. ใช้เป็นเชื้อเพลิง

       3. ทำน้ำมันสน ใช้ผสมสี ทำน้ำมันขัดเงา

       4. ใช้เป็นไม้ประดับ เช่น ปรง

       5. ใช้ปลูกป่า เพราะสนเติบโตเร็ว เพราะมีราพวกไมคอไรซา (mycorrhiza) เจริญอยู่ที่ราก

ราพวกนี้ทำให้ฟอสฟอรัสอยู่ในรูปที่พืชนำมาใช้ประโยชน์ได้

3. ดิวิชันกิงโกไฟตา(Division Ginkgophyta)

       พืชในดิวิชันนี้คือ แป็ะก๊วย (Ginko biloba) และสนปรง เรียกรวมกันว่าพวกจิมโนสเปิร์ม (Gymnosperm) ซึ่งหมายถึงพืชมีเมล็ดแต่ไม่มีอะไรมาห่อหุ้มเมล็ด ใบกว้าคล้ายรูปพัด ชอบขึ้นใน

เขตหนาว เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี พืชชนิดนี้มีเมล็ดเปลือย (naked seed) ขนาดใหญ่ รับประทานได้

ในรูปของหวาน

 

ลักษณะโดยทั่วไป
    เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงประมาณ 30-40 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ลำต้นสีน้ำตาล

เมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดการเจริญขั้นที่สอง ใบคล้ายพัดจีน ใบเรียงตัวแบบสลับ (alternate) ใบมีลักษณะเฉพาะ คือเป็นร่องลึกบริเวณกลางใบทำให้เห็นเป็นสองพูอย่างชัดเจน จึงได้ชื่อว่า Ginkgo biloba (two lobes) นั่นเอง ใบมีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีทอง ในฤดูใบไม้ร่วง สวยงามมาก แป๊ะก๊วย

มีอายุยืนนานหลายปี อาจถึงพันปี ซึ่งเคยพบอายุถึง 3,500 ปี


การสืบพันธุ์
       ต้นแป๊ะก๊วยที่พบทั่วไปเป็นต้นสปอร์โรไฟต์ที่แยกเพศ (dioecious) เหมือนกับ Gymnosperm

ชนิดอื่นๆ ต้นตัวผู้สร้าง microsporangia อยู่บนกิ่งสั้นๆ (spur shoots) เรียกโครงสร้างนี้ว่า male cone ต้นตัวเมียสร้างสร้าง megasporangia ภายในมี ovules ซึ่งจะเจริญต่อไปเป็นเมล็ด การถ่ายละอองเรณูเกิดเมื่อมีลมพัด pollen grain ตกลงบน megasporangia และ ไข่ได้รับการผสมเมื่อเจริญเต็มที่ ส่วนของเปลือกหุ้มเมล็ดชั้นนอกสุดจะนุ่มเละและสลายไปและมีกลิ่นเหม็นหืนเนื่องจากมีจำพวกกรด

บิวตาลิก แป๊ะก๊วยมีประโยชน์ ส่วนเมล็ดนำมาสกัดหรือรับประทานป้องกันโรคความจำเสื่อม (Alzheimer) นอกจากนี้ยังนำมารักษาโรคอื่นๆ โรคหืด โรคภูมิแพ้ และบรรเทาอาการไอ ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยช่วยรักษาความสมบูรณ์ของ ผนังเส้นเลือดฝอย นำไปใช้ในผู้ป่วยที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ในประเทศจีนถือว่าแป๊ะก๊วยเป็นไม้มงคลด้วย


ภาพที่ 32 ใบแป๊ะก๊วย

       (ที่มาภาพ: http://www.herbs.org/greenpapers/ginkgo.jpg

http://www.stanford.edu/group/hopes/treatmts/antiox/f_k01ginkgo.jpg)

ภาพที่ 33 การเปลี่ยนสีใบจากเขียวเป็นเหลืองในฤดูใบไม้ร่วงของต้นแป๊ะก๊วย

       (ที่มาภาพ: http://www.cirrusimage.com/Trees/ginkgo_tree_med.jpg

http://www.rosevilletrees.org/trees/images/ginkgo.jpg)

ภาพที่ 34 (ซ้าย) ผลและ (ขวา) Strobilus ของแป๊ะก๊วย

       (ที่มาภาพ: http://users.rcn.com/jkimball.ma.ultranet/BiologyPages/G/GinkgoLGR.jpg

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/dc/Ginkgo_biloba_Inflorescences.jpg)

เอกสารอ้างอิง

 

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา. เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว     40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรพืช.   (19  ก.พ 53)

http://www.mwit.ac.th/~deardean/link/All%20Course/biodiver/biodivpdf/diver_plantae.pdf

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. (2537). พฤกษศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่โรงพิมพ์

       สหมิตรออฟเซท.

สอวน. (2548).  โครงการตำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน. ชีววิทยา 1. พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์.

Mader S. Sylvia. (2007). Biology. The ninth edition. The McGraw-Hill Companies, Inc.

       McGraw-Hill International edition. USA.